ค้นหา

Translate

บุก




ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Amorphophallus campanulatus  Bl.ex Dence.(A.paeoniifolius (Dennst.) Nicolson
ชื่อสามัญ :   Elephant yam, Stanley's water-tub
วงศ์ :   ARACEAE
ชื่ออื่น :  บุกคุงคก (ชลบุรี) เบีย เบือ (แม่ฮ่องสอน) มันซูรัน (ภาคดลาง)  หัวบุก (ปัตตานี) บุกคางคก  (ภาคกลาง, เหนือ) บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน ลำต้นอวบ สีเขียวเข้ม ตามต้นมีรอยด่างเป็นดวงๆ เขียวสลับขาว ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว แตกใบที่ยอด กลุ่มใบแผ่เป็นแผงคล้ายร่มกาง ก้านใบต่อเนื่องกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 – 7 ใบ รูปใบยาวปลายใบแหลม ขนาดใบยาว 12 – 15 ซม. สำต้นสูง 1 – 2 เมตร ดอกบุกเป็นสีเหลือง บานในตอนเย็นมีกลิ่นเหม็น คล้ายหน้าวัว ประกอบด้วยปลี และจานรองดอก จานรองดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 – 15 ซม. เกสรตัวผู้และตัวเมียรวมอยู่ในดอกเดียวกัน แต่แยกกันอยู่คนละชั้น เมื่อบานจานรองดอกจะโรย เหลืออยู่แต่ปลีดอก ซึ่งจะกลายเป็นผล ก่อนออกดอกต้นจะตายเหลือแต่หัว ซึ่งเป็นก้อนกลมสีขาว ขนาด 6 – 10 ซม. เจริญเติบโตอยู่ใต้ดิน

ส่วนที่ใช้ :  เนื้อจากลำต้นใต้ดิน หัว

สรรพคุณ : หัวบุกมีสารสำคัญ คือกลูโคแมนแนน เป็นสารประเภท คาร์โบไฮเดรท ซึ่งประกอบด้วย กลูโคลส แมนโนส และฟลุคโตส  กลูโคแมนแนน สามารถลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ ก็เนื่องจากความเหนี่ยว ซึ่งยับยั้งการดูดซึมของกลูโคลสจากทางเดินอาหาร ยิ่งหนืดมาก็ยิ่งมีผลลดการดูดซึมกลูโคลส ดังนั้น กลูโคแมนแนน ซึ่งเหนียวกว่า gua gum จึงลดน้ำตาลได้ดีกว่า จึงใช้แป้งเป็นวุ้นเป็นอาหารสำหรับผู้ป่ายโรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคมีไขมันในเลือดสูง

วิธีและปริมาณที่ใช้

แยกเป็นแป้งส่วนที่เป็นเนื้อทราย แล้งชงน้ำดื่ม
ใช้แป้ง 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 แก้ว ชงดื่มวันละ 2-3 มื้อ ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง
ใช้หัวหุงเป็นน้ำมัน ใส่บาดแผล กัด ฝ้าหนอง

ส่วนที่เป็นพิษ เหง้าและก้านใบถ้าปรุงไม่ดี กินเข้าไปทำให้คันปากและลิ้นพอง